สำหรับผู้พำนักระยะกลาง ระยะยาว
Q & A
- เรียบเรียง
เครือข่ายความสมัครสมานกับแรงงานข้ามชาติญี่ปุ่น・ที่ประชุมการรับมือกฎหมายการตรวจคนเข้าเมือง
(Meeting of Countermeasure against Immigration relevant laws / SMJ (Solidarity Network with Migrants Japan))
(移住労働者と連帯する全国ネットワーク・入管法対策会議)
การคัดค้านบัตรประจำตัวผู้พำนัก!คณะกรรมการบริหาร NGO
(NGO Committee against the introduction of "Zairyu Card (resident card)" system)
(在留カードに異議あり! NGO実行委員会) - translated by
เวลา วารี (WAELAA-WAAREE/ウェラーワァリー)
- บัตรประจำตัวคนต่ำงด้ำวจะถูกยกเลิกจริงหรือไม
- กำรที่สำมำรถต่ออำยุและรับบัตรประจำตัวผู้พำนัก (Zairyu Card) จำกกองตรวจคนเข้ำเมืองได้ ทำให้สะดวกขึ้น ใช่หรือไม่
- บัตรประจำตัวผู้พำนัก ได้ระบุรำยละเอียดอะไรไว้บ้ำง
- หำกไม่มีบัตรประจำตัวผู้พำนัก จะเป็นอย่ำงไร
- ไม่เพียงแต่คนต่ำงชำติเท่ำนั้น หน่วยงำนที่สังกัดอยู่ก็จำเป็นต้องรำยงำนด้วยหรือไม่
- กระทรวงยุติธรรมได้นำข้อมูลส่วนตัวเหล่ำนี้ไปใช้ประโยชน์อะไร
- กำรยกเลิกสถำนกำรณ์พำนัก (วีซ่ำ) คืออะไร
- ทะเบียนผู้อำศัยคนต่ำงด้ำว เป็นอย่ำงไร
- กำรคัดชื่อออกจำกทะเบียนผู้อำศัย คืออะไร
- "กำรที่ไม่ต้องขออนุญำตเข้ำเมืองอีกครั้ง (RE-ENTRY) กรณีที่เดินทำงกลับเข้ำญี่ปุ่นอีกครั้ง"คืออะไร
Q1
บัตรประจำตัวคนต่างด้าวจะถูกยกเลิกจริงหรือไม่
เพราะมีการยกเลิกกฎหมายการลงทะเบียนคนต่างด้าวปัจจุบัน และจะนาเอาระบบการควบคุมการพานักอยู่ในญี่ปุ่นระบบใหม่เข้ามาใช้
กฎหมายฉบับแก้ไขถูกประกาศใช้เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ.2009 ที่เรียกว่า พระ
ราชบัญญัติควบคุมการตรวจคนเข้าเมือง กฎหมายควบคุมคนเข้าเมืองพิเศษ (ฉบับแก้ไข)
กฎหมายการจดทะเบียนราษฎรขั้นพื้นฐานนั้น จะเริ่มนำมาใช้เดือนกรกฎาคม ปีหน้า (ค.ศ. 2012)
ระบบใหม่จะถูกนำไปใช้กับคนต่างชาติที่มีสถานะของวีซ่ามากกว่า 3 เดือนขึ้นไป ซึ่งจะเรียกว่า ผู้พำนักอาศัยระยะกลางถึงระยะยาว ยกเว้นผู้ที่ถือวีซ่าถาวรแบบพิเศษ
กฎหมายการลงทะเบียนคนต่างด้าวปัจจุบัน | พระราชบัญญัติควบคุมการตรวจคนเข้าเมือง กฎหมายคนเข้าเมืองพิเศษ ฉบับแก้ไข | กฎหมายการจดทะเบียนราษฎร ขั้นพื้นฐาน ฉบับแก้ไข | |
---|---|---|---|
ผู้ถือวีซ่าถาวรแบบพิเศษ (คนเกาหลีใต้ เกาหลีเหนือ,ไต้หวัน,ผู้มีเชื้อสายญี่ปุ่นรุ่นที่สาม ) |
บัตรประจำตัวคน ต่างด้าว ออกให้โดย ที่ว่าการเขต / อำเภอ | บัตรประจำตัวผู้ถือวีซ่าถาวร แบบพิเศษ ออกให้โดยที่ว่าการเขต / อำเภอ | ทะเบียนผู้อาศัยคนต่างด้าวออก ให้โดยที่ว่าการเขต / อำเภอ |
ผู้ถือวีซ่าระยะยาว (ผู้ถือวีซ่าถาวร , วีซ่านักเรียน เป็นต้น) |
บัตรประจำตัวคน ต่างด้าว ออกให้โดย ที่ว่าการเขต / อำเภอ | บัตรประจำตัวผู้พำนัก ออกให้โดยกองตรวจคนเข้าเมืองท้องถิ่น | ทะเบียนผู้อาศัยคนต่างด้าว ออกให้โดยที่ว่าการเขต / อำเภอ |
ผู้ที่อาศัยอย่างผิดกฎหมาย (ผู้ที่อาศัยเกินระยะเวลา เป็นต้น) |
บัตรประจำตัวคนต่างด้าว ออกให้โดยที่ว่าการเขต / อำเภอ | ไม่ได้รับบัตรประจำตัวผู้พำนัก | ไม่ออกทะเบียนผู้อาศัยคนต่างด้าวหรือถูกยกเลิกทะเบียนผู้อาศัยคนต่างด้าว |
Q2
การที่สามารถต่ออายุและรับบัตรประจำตัวผู้พำนัก (Zairyu Card) จากกองตรวจคนเข้าเมืองได้ ทำให้สะดวกขึ้นใช่หรือไม่
เนื่องจากหลังจากที่รับบัตรประจำตัวผู้พำนักจากกองตรวจคนเข้าเมืองท้องถิ่นแล้ว ต้องไปที่ว่าการเขตหรืออำเภอ เพื่อแจ้งที่อยู่ นอกจากนี้แล้วหากมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ต้องไปแจ้งที่กองตรวจคนเข้าเมืองท้องถิ่นหรือที่ว่าการเขตหรืออำเภอ ภายใน 14 วัน
การรับบัตรประจำตัวผู้พำนักที่กองตรวจคนเข้าเมืองท้องถิ่น
เอ) ผู้ถือวีซ่าถาวรที่เป็นคนต่างชาติที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป ต้องไปติดต่อรับบัตรประจำตัวผู้พำนักใหม่ที่กองตรวจคนเข้าเมืองท้องถิ่น ทุกๆ 7 ปี ( วันครบรอบวันเกิดครั้งที่ 7 )
บี) ผู้ถือวีซ่าระยะกลางและระยะยาว ยกเว้นวีซ่าถาวร จะได้รับบัตรประจำตัวผู้พำนัก เมื่อไปติดต่อขอต่ออายุวีซ่า หรือเปลี่ยนแปลงสถานภาพวีซ่า ที่กองตรวจคนเข้าเมืองท้องถิ่น
ซี) คนต่างชาติที่เข้ามาญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก และจะอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นเป็นระยะเวลามากกว่า 3 เดือนขึ้นไป หลังจากผ่านการตรวจสอบ ที่สนามบินนานาชาติ หรือท่าเรือแล้ว จะได้รับบัตรประจำตัวผู้พำนักพร้อมกับการได้รับอนุญาตเข้าประเทศ
บทลงโทษในกรณีไม่รับบัตรประจำตัวผู้พำนัก
ทั้ง เอ) , บี) , ซี) หากปฏิเสธการรับบัตรประจำตัวผู้พำนัก จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ ไม่เกิน 200,000 เยน หากได้รับโทษจำคุก จะถูกเนรเทศออกนอกประเทศ
บทลงโทษในกรณีที่ลืมต่ออายุ
เอ) ถ้าผู้ถือวีซ่าถาวรที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป ลืมไปต่ออายุบัตรประจำตัวผู้พำนัก ทุกๆ 7 ปี จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 200,000 บาท หากได้รับโทษจำคุก จะถูกเนรเทศออกนอกประเทศ
ให้ที่ว่าการเขต / อำเภอ บันทึกที่อยู่ลงในบัตรประจำตัวผู้พำนัก
เมื่อคนต่างชาติที่ได้รับบัตรประจำตัวผู้พำนักจากกองตรวจคนเข้าเมืองแล้ว จะต้องไปที่ที่ว่าการเขต / อำเภอ ที่อาศัยอยู่ เพื่อให้ลงบันทึกที่อยู่ ในบัตรประจำตัวผู้พำนัก ภายใน 14 วัน
บทลงโทษในกรณีล่าช้า
ทั้ง เอ) และ บี) หากไปดำเนินการหลังจาก 14 วันผ่านไปแล้ว จะมีโทษปรับ ไม่เกิน 200,000 เยน
ซี) คนต่างชาติที่เข้ามาญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก หากมีที่อยู่แน่นอนแล้ว แต่ไม่ได้ไปแจ้งต่อที่ว่าการเขต / อำเภอ ภายใน 14 วัน จะมีโทษปรับไม่เกิน 200,000 เยน และหากเกิน 90 วัน จะถูกยกเลิกวีซ่า
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงย้ายที่อยู่ ต้องแจ้งที่ว่าการเขต / อำเภอ
กรณีที่ย้ายที่อยู่ไปเขตหรืออำเภออื่น
1) ดิ ก่อนอื่นต้องแจ้ง 「ย้ายออก 」 ที่ว่าการเขต / อำเภอ ที่ตนอาศัยอยู่เม
2) หลังจากย้ายที่อยู่แล้ว ภายใน 14 วัน ต้องแจ้ง 「ย้ายเข้า 」 ที่ว่าการเขต / อำเภอ ที่ย้ายเข้าไปอาศัยอยู่ใหม่
กรณีที่ย้ายที่อยู่ไปในเขตหรืออำเภอเดียวกัน ก็ต้องแจ้งย้ายที่อยู่ด้วยเช่นเดียวกัน
บทลงโทษในกรณีแจ้งย้ายที่อยู่ล่าช้า
หากไม่ทำการแจ้งย้ายเข้า ย้ายออก ภายใน 14 วัน จะมีกำหนดลงโทษตามกฎหมายการจดทะเบียนราษฎรขั้นพื้นฐาน (โทษปรับไม่เกิน 50,000 เยน) + การลงโทษทางอาญาตามพระราชบัญญัติควบคุมการตรวจคนเข้าเมือง (โทษปรับไม่เกิน 200,000 เยน) + หากเกินกว่า 90 วันจะถูกยกเลิกวีซ่า ตามพระราชบัญญัติควบคุมการตรวจคนเข้าเมือง
ที่ว่าการอำเภอแจ้งไปยังกระทรวงยุติธรรมญี่ปุ่น
ข้อมูลเกี่ยวกับการพำนักอาศัยเหล่านี้ ทางที่ว่าการเขตอำเภอจะแจ้งไปยังกระทรวงยุติธรรมญี่ปุ่น
Q3
บัตรประจำตัวผู้พำนัก ได้ระบุรายละเอียดอะไรไว้บ้าง
ในบัตรประจำตัวผู้พำนัก จะระบุ ชื่อ-สกุล / วันเดือนปีเกิด / เพศ / สัญชาติ / ที่อยู่ / สถานะการพำนัก / ระยะพำนัก และวันหมดอายุ / ชนิดของใบอนุญาตต่างๆ เช่น 「 การอนุญาตการเข้าเมือง 」 หรือ 「การต่ออายุวีซ่า 」 เป็นต้น รวมไปถึงวันเดือนปีที่ได้รับอนุญาต / หมายเลขบัตรประจำตัวผู้พำนัก วันออกบัตร วันหมดอายุ / มีหรือไม่มีข้อจำกัดในการทำงาน / มีหรือไม่มีการอนุญาตให้ทำกิจกรรมนอกเหนือเงื่อนไขของวีซ่าที่ระบุไว้ในบัตร ในกรณีที่มีอายุเกิน 16 ปีขึ้นไป จะมีรูปถ่ายติดด้วย และจัดเก็บข้อมูลด้วย IC SHIP ซึ่งใช้เป็นตัวเก็บข้อมูลเหล่านี้

『ความเห็นเกี่ยวกับกฎหมายการตรวจคนเข้าเมืองใหม่—ฉบับแก้ไข ปี ค.ศ. 2009』、ยูฮิคัคคุ
Q4
หากไม่มีบัตรประจำตัวผู้พำนัก จะเป็นอย่างไร
ตามกฎหมายของการพกบัตรติดตัวเป็นประจำ
คนต่างชาติที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป ต้องพกบัตรประจำตัวผู้พำนักติดตัวไว้เสมอ เหมือนที่ผ่านมา หากเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือเจ้าหน้าที่กองตรวจคนเข้าเมืองขอดูบัตร ต้องแสดงบัตรประจำตัวผู้พำนักต่อเจ้าหน้าที่
บทลงโทษในกรณีไม่สามารถแสดงบัตร , ไม่ได้พกบัตร
หากปฏิเสธการแสดงบัตรประจำตัวผู้พำนัก จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 200,000 เยน + หากได้รับโทษจำคุก จะต้องถูกเนรเทศออกนอกประเทศ
หากขณะนั้น ไม่ได้พกบัตรประจำตัวผู้พำนัก จะมีโทษปรับไม่เกิน 200,000 เย
กรณีที่บัตรประจำตัวผู้พำนักหาย หลังจากที่ทราบว่าบัตรหาย ต้องไปแจ้งที่กองตรวจคนเข้าเมืองท้องถิ่นเพื่อทำเรื่องขอออกบัตรใหม่ให้ ภายใน 14 วัน
บทลงโทษในกรณีที่ไปทำเรื่องขอออกบัตรประจำตัวผู้พำนักใหม่ล่าช้า
หากไม่ไปทำเรื่องภายในเวลาที่กำหนด จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 200,000 เยน + หากได้รับโทษจำคุก ต้องถูกเนรเทศออกนอกประเทศ
การพกบัตรประจำตัวผู้พำนักติดตัวเป็นประจำในชีวิตประจำวัน
กระทรวงยุติธรรมได้กำหนดไว้ว่า ในบัตรประจำตัวผู้พำนัก มีข้อมูลล่าสุดที่สำคัญของคนต่างชาติอยู่ ทำให้สามารถพิสูจน์ว่าคนต่างชาติคนนั้นมีวีซ่าที่ถูกต้องตามกฎหมายได้โดยง่าย ซึ่งหมายความว่า หากคนต่างชาติต้องการเช่าอพาร์ทเมนท์ , ทำสัญญาซื้อโทรศัพท์มือถือ ,เปิดบัญชีธนาคาร หรืออื่นๆ ในชีวิตประจำวัน อาจถูกขอให้แสดงบัตรประจำตัวผู้พำนักด้วย
ตอนหางานทำ มีความจำเป็นต้องใช้บัตรประจำตัวผู้พำนัก
นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขครั้งนี้ ในบัตรประจำตัวผู้พำนัก ยังมีรายการ ข้อจำกัดในการทำงานที่ถูกตั้งขึ้นมาใหม่ ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของวีซ่า โดยจะเขียนตามข้อ 1) 2) 3) ดังต่อไปนี้
1) ไม่มีข้อจำกัดในการทำงาน
2) มีข้อจำกัดในการทำงาน / สามารถทำงานได้ตามสถานภาพของวีซ่าที่มี
3) ไม่สามารถทำงานได้ / หากต้องการทำงาน จำเป็นต้องได้รับการอนุญาต
กระทรวงยุติธรรมได้กำหนดไว้ว่า 「ผู้ว่าจ้างสามารถยืนยันได้จากบัตรประจำตัวผู้พำนัก และสามารถตัดสินใจได้อย่างง่าย 」
นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขในครั้งนี้ ผู้ว่าจ้างสามารถตรวจสอบได้ว่าคนต่างชาติคนนั้น พำนักเกินระยะเวลาวีซ่าหรือไม่ มีวีซ่าที่สามารถทำงานได้หรือไม่ ผู้ว่าจ้างมีหน้าที่ต้องตรวจดูว่า 「มีวีซ่าหรือไม่ 」「มีข้อจำกัดในการทำงานหรือไม่」 ก่อนที่จะทำการจ้าง หากผู้ว่าจ้างรับคนต่างชาติที่ฝ่าฝืนการอนุญาตนั้น ผู้ว่าจ้างจะได้รับโทษหนัก
ดังนั้น เมื่อคนต่างชาติหางานพาร์ตไทม์ทำ อาจถูกผู้ว่าจ้างขอดูบัตรประจำตัวผู้พำนัก เพื่อตรวจดูรายะเอียดว่ามีข้อจำกัดในการทำงานหรือไม่ ได้รับอนุญาตให้ทำงานนอกเหนือจากที่วีซ่าที่มีหรือไม่ ตรวจดูวันหมดอายุของวีซ่า เป็นต้น
Q5
ไม่เพียงแต่คนต่างชาติเท่านั้น หน่วยงานที่สังกัดอยู่ก็จำเป็นต้องรายงานด้วยหรือไม่
รายะเอียดที่คนต่างชาติจะต้องรายงาน
คนต่างชาติที่มีการเปลี่ยนแปลง ชื่อ-สกุล / วันเดือนปีเกิด / เพศ / สัญชาติ ที่บันทึกไว้ในบัตรประจำตัวผู้พำนัก ต้องรายงานต่อกองตรวจคนเข้าเมืองท้องถิ่น ภายใน 14 วันเพื่อที่จะรับบัตรประจำตัวผู้พำนักใหม่
บทลงโทษ กรณีไปรายงานการเปลี่ยนแปลงล่าช้า
หากมีการเปลี่ยนแปลงแล้วไม่ไปรายงานภายใน 14 วัน จะมีโทษปรับไม่เกิน 200,000 เยน นอกจากนี้ ดังที่แสดงไว้ในตาราง 2 (บี) คนต่างชาติที่ถือวีซ่า 「ศาสตราจารย์」~ 「 ผู้ชำนาญการ(แรงงานฝีมือ)」 หากหน่วยงานที่สังกัดอยู่ มีการเปลี่ยนแปลงชื่อ ที่อยู่ , หน่วยงานล้มละลาย , ออกจากหน่วยงานหรือย้ายหน่วยงาน ก็ต้องรายงานต่อกองตรวจคนเข้าเมือง ภายใน 14 วัน
บทลงโทษ กรณีรายงานการเปลี่ยนแปลงล่าช้า
หากรายงานการเปลี่ยนแปลงเกิน 14 วัน จะมีโทษปรับไม่เกิน 200,000 เยน
สถานะการพำนัก | A. หวข้อที่ระบุไว้ ในบัตรประจำตัวผู้พำนัก *1 | B. หัวข้อที่เจ้าของบัตร ต้องรายงาน *1 | C. หัวข้อที่องค์กรที่ สังกัดต้องรายงาน *1 | D. หัวข้อที่ต้องรายงานตาม กฎหมายการจ้างงาน | |
---|---|---|---|---|---|
A p p e n d i x 1 |
ศิลปิน | 1. ชื่อสกุล 2. วันเดือนปีเกิด 3. เพศ 4. สัญชาติ 5. ที่อยู่ 6. ประเภทวีซ่า 7. ระยะเวลาวีซ่า /วันหมดอายุ 8. ชนิดของวีซ่า / วันเดือนปีที่อนุญาต 9. หมายเลขบัตรประจำตัวผู้ พำนัก /วันออกบัตร / วันหมดอายุ 10. ข้อกำหนดของการทำงาน / การได้รับอนุญาตให้ทำ กิจกรรมนอกเงื่อนไขของวีซ่า |
- | - *2 | 1. ชื่อสกุล 2. วันเดือนปีเกิด 3. เพศ 4. สัญชาติ 5. ประเภทวีซ่า / การได้รับ อนุญาตให้ทำกิจกรรมนอก เงื่อนไขของวีซ่า 6. ระยะเวลาวีซ่า 7. ที่อยู่ 8.ชื่อและที่อยู่ของสำนักงาน 9.ค่าจ้าง / รูปแบบของการ จ้างงาน /ชนิดของงาน / จำนวนชั่วโมงของการทำงาน / ระยะเวลาของสัญญา 10.วันเดือนปีที่เข้า ทำงาน และ ออกจากงาน |
ศาสนา | |||||
สื่อสารมวลชน | |||||
กิจกรรม ทางวัฒนธรรม | |||||
อาจารย์ | 1. การเปลี่ยนแปลงชื่อและ ที่อยู่ขององค์กรที่สังกัด 2. องค์กรที่สังกัดล้มละลาย 3. การถอนตัวและ โยกย้ายองค์กรที่สังกัด |
1. วันที่เริ่มรับและวันที่ หยุดรับคนต่างชาติเข้าทำงาน 2. สถานการณ์ (เงื่อนไข) อื่นที่รับเข้าทำงาน |
|||
ผู้ลงทุน / นักธุรกิจ | |||||
นักกฎหมาย /นักบัญชี | |||||
ผู้ประกอบกิจการบริการทางการแพทย์ | |||||
ผู้ประกอบกิจการด้านการศึกษา | |||||
ผู้ที่ทำงานกับบริษัทสาขาในต่างประเทศ | |||||
ผู้ฝึกงานด้านทักษะ | |||||
นักศึกษาต่างชาติ | |||||
-ฝึกอบรม | |||||
นักวิจัย | 1. การเปลี่ยนแปลงชื่อและ ที่อยู่ขององค์กรที่ทำสัญญา 2. องค์กรที่ทำสัญญา ล้มละลาย 3. การถอนตัวและโยกย้าย จากองค์กรที่ทำสัญญา |
||||
เทคโนโลยี | |||||
ผู้เชี่ยวชาญด้านมนุษยศาสตร์ /กิจการต่างประเทศ | |||||
นักแสดง | |||||
แรงงานฝีมือ | |||||
ผู้ติดตาม | ●กรณีของคู่สมรส : การหย่ากับคู่สมรส , คู่สมรสเสียชีวิต |
||||
ผู้ชำนาญการ | |||||
A p p e n d i x 2 |
คู่สมรสของชาวญี่ปุ่น | - | |||
คู่สมรสของผู้มีถิ่น พำนักถาวร |
|||||
วีซ่าตลอดชีพ | - | ||||
วีซ่าผู้พำนักถาวร |
*2 ข้อความของกฎหมายควบคุมคนเข้าเมืองฉบับแก้ไขกำหนดไว้ว่า องค์กรที่จ้างงานคนต่างชาติที่มีวีซ่า ศิลปิน / ศาสนา / สื่อมวลชน / ผู้มีความรู้ทางวัฒนธรรม ต้องรายงานถึงสถานการณ์ที่รับชาวต่างชาติเข้าทำงาน แต่ กระทรวงยุติธรรมกล่าวว่า สำหรับวีซ่าเหล่านี้ การเป็นองค์กรที่สังกัดไม่ได้เป็นพื้นฐานของวีซ่า จึงไม่จำเป็นต้องรายงาน
หัวข้อที่องค์กรที่สังกัดต้องรายงาน
ตามกฎหมายมาตรการจ้างงานฉบับแก้ไข ที่เริ่มใช้ตั้งแต่ เดือนตุลาคม ปี คศ 2007 บริษัทที่ว่าจ้างคนต่างชาติทุกบริษัท ทุกหน่วยราชการ มีหน้าที่รายงานสถานการณ์การจ้างงานชาวต่างชาติแต่ละคน (ตามตาราง 2 –ดี) ต่อกระทรวงสาธารณะสุขแรงงาน และสวัสดิการ ข้อมูลการจ้างงานนี้ จะถูกนำเสนอต่อไปยังกระทรวงยุติธรรม นอกจากนี้แล้วกฎหมายตรวจคนเข้าเมืองฉบับแก้ไขนี้ หน่วยงานที่มีคนต่างชาติที่มีสถานภาพพำนัก อาจารย์ กิจกรรมเฉพาะ สังกัดอยู่ ตามที่กล่าวไว้ในตาราง 2-ซี) ต้องแจ้งต่อกองตรวจคนเข้าเมืองท้องถิ่น เมื่อเริ่มจ้างและเลิกจ้างชาวต่างชาติ ,สถานการณ์การจ้างงาน อื่นๆ แต่ตามกฎหมายการจ้างงาน เจ้าของกิจการที่ต้องแจ้ง"รายงานสถานะการณ์การจ้างงานชาวต่างชาติ"จะได้รับการยกเว้น
องค์กรการศึกษาที่รับนักศึกษาต่างชาติต้องรายงานด้วย
จากคำอธิบายของกระทรวงยุติธรรม ตัวอย่างเช่น โรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นและมหาวิทยาลัย , โรงเรียนเฉพาะทาง เป็นต้น ที่รับนักศึกษาต่างชาติ หน่วยงานการศึกษาเหล่านี้ นอกจากจะต้องแจ้ง ชื่อ-สกุล / วันเดือนปีเกิด / เพศ / สัญชาติ / สถานภาพพำนัก / ระยะเวลาของวีซ่า / การลาออกจากโรงเรียน การตัดชื่อออกจากบัญชี รวมทั้งข้อเท็จจริงของที่อยู่ที่ไม่ชัดเจน ด้วย
รายการบทบัญญัติ | รูปแบบการละเมิด | บทลงโทษ | |
---|---|---|---|
รายงาน การกระทำ |
ที่อยู่อาศัยใหม่ , รายงานการเปลี่ยนแปลง |
การรายงานเท็จ | จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไปหรือปรับไม่เกินสองแสนเยน |
ยกเลิกวีซ่า | |||
การเนรเทศ (กรณีได้รับโทษจำคุกตามที่กล่าวในข้างต้น) | |||
การรายงานล่าช้า | กรณีเกิน 14 วัน ปรับไม่เกินสองแสนเยน | ||
เกิน 90 วัน ยกเลิกวีซ่า | |||
รายงานการเปลี่ยนแปลงสถานะ รายงานการเปลี่ยนแปลงองค์กรที่สังกัด การหย่าหรือการเสียชีวิตของคู่สมรส |
การรายงานเท็จ | จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไปหรือปรับไม่เกินสองแสนเยน | |
การเนรเทศ (กรณีได้รับโทษจำคุกตามที่กล่าวข้างต้น) | |||
การรายงานล่าช้า | เกิน 14 วัน ปรับไม่เกิน สองแสนเยน | ||
บัตร สถานภาพ พำนัก |
รับบัตร | ไม่รับบัตร | จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไปหรือปรับไม่เกินสองแสนเยน |
การเนรเทศ (กรณีได้รับโทษจำคุกตามที่กล่าวข้างต้น) | |||
การพกบัตรติดตัวเป็นประจำ | ไม่พกบัตร | ปรับไม่เกินสองแสนเยน | |
การแสดงบัตร | ปฏิเสธการแสดงบัตร | จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไปหรือปรับไม่เกินสองแสนเยน | |
การเนรเทศ (กรณีได้รับโทษจำคุกตามที่กล่าวข้างต้น) | |||
การต่ออายุบัตร | ไปต่ออายุล่าช้า | เกินอายุบัตร จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไปหรือปรับไม่เกินสองแสนเยน | |
การเนรเทศ(กรณีได้รับโทษจำคุกตามที่กล่าวข้างต้น) | |||
การทำบัตรใหม่ | ทำบัตรใหม่ล่าช้า | เกิน 14 วัน จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไปหรือปรับไม่เกินสองแสนเยน | |
การเนรเทศ(กรณีได้รับโทษจำคุกตามที่กล่าวข้างต้น) | |||
คำสั่งให้ทำบัตรใหม่ | ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง | เกิน 14 วัน จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไปหรือปรับไม่เกินสองแสนเยน | |
การเนรเทศ(กรณีได้รับโทษจำคุกตามที่กล่าวข้างต้น) | |||
การคืนบัตร | การคืนบัตรล่าช้า | เกิน 14 วัน จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไปหรือปรับไม่เกินสองแสนเยน |
Q6
กระทรวงยุติธรรมได้นำข้อมูลส่วนตัวเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์อะไร
นอกจากนี้ กระทรวงยุติธรรม ยังได้เก็บข้อมูลประวัติการเนรเทศ ประวัติการเข้าออกประเทศ ลายนิ้วมือที่พิมพ์ไว้ตอนเข้าออกประเทศ ข้อมูลภาพใบหน้าของแต่ละคน บันทึกไว้เป็นบัญชีดำอีกด้วย
สิทธิขอบเขตในสำรวจอย่างกว้างขวาง
นอกจากนี้ กฎหมายฉบับแก้ไขครั้งนี้ ยังให้สิทธิแก่กระทรวงยุติธรรมอย่างมากในการสำรวจหาข้อเท็จจริง เพื่อให้ได้ข้อมูลส่วนตัวของคนต่างชาติอย่างต่อเนื่อง สำหรับ กองตรวจคนเข้าเมืองท้องถิ่น ไม่เพียงแต่กับคนต่างชาติเท่านั้น ยังสามารถเรียกให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าไปสอบถาม, ให้ส่งเอกสารได้อีกด้วย และ ทางที่ว่าการเขตอำเภอที่จัดทำ 「ทะเบียนผู้อาศัยคนต่างด้าว」 ยังสามารถเรียกขอข้อมูลเพิ่ม จากหน่วยงานที่ชาวต่างชาติสังกัดอยู่ได้
ตรวจทานข้อมูลส่วนตัวแล้วใช้ในการตรวจสอบ
กระทรวงยุติธรรมมีการตรวจทานข้อมูลส่วนตัวที่รวบรวมดังนี้ ตัวอย่างเช่น เปรียบเทียบข้อมูลของคนต่างชาติ จากตาราง 2-บี) และ ข้อมูลขององค์กรที่สังกัด จากตาราง 2-ซี) , ดี) ในการตรวจสอบการปรับปรุงระยะเวลาสถานะการพำนัก (วีซ่า), การเปลี่ยนแปลงของสถานะวีซ่า , การยกเลิกสถานะวีซ่า
Q7
การยกเลิกสถานะการพำนัก (วีซ่า) คืออะไร
การถูกยึดวีซ่าระหว่างระยะเวลาของวีซ่า
ตามกฎหมายควบคุมคนเข้าเมืองฉบับแก้ไขของปี คศ 2004 "ระบบการยกเลิกสถานะการพำนัก
(วีซ่า)"
ได้ถูกจัดตั้งขึ้น ตัวอย่างเช่น กรณีที่นักศึกษาต่างชาติลาออกจากโรงเรียนหรือหยุดเรียน 「ไม่ทำกิจกรรมตามเงื่อนไขของวีซ่าเป็นเวลามากกว่า 3 เดือนขึ้นไป」 กระทรวงยุติธรรมสามารถยกเลิกวีซ่าของนักศึกษาต่างชาติคนนั้นได้
ยิ่งไปกว่านั้น กฎหมายฉบับแก้ใขครั้งนี้ ยังได้เพิ่มบทบัญญัติข้อ (5)、(7)~(10) ต่อไปนี้ ทำให้กระทรวงยุติธรรมสามารถยกเลิกวีซ่าได้ แม้ว่าจะอยู่ในระหว่างระยะเวลาของวีซ่า
(5) ได้รับอนุญาตพำนักในญี่ปุ่นเป็นกรณีพิเศษ โดยการปลอมแปลงหรือใช้วิธีทุจริตอื่นๆ หรือได้รับการรับรองสถานะผู้ลี้ภัย
(7) ผู้ที่พำนักอยู่ในญี่ปุ่นในฐานะคู่สมรสคนญี่ปุ่น , คู่สมรสผู้ถือวีซ่าถาวร แต่ไม่ทำกิจกรรมตามสถานภาพอย่างต่อเนื่องเกินกว่า 6 เดือน (ยกเว้นกรณีที่มีเหตุผลเหมาะสมที่ทำให้พำนักอยู่ โดยไม่ทำกิจกรรมดังกล่าว)
(8) คนต่างชาติที่ได้รับอนุญาตเข้าประเทศ และ ได้บัตรประจำตัวผู้พำนัก แต่ไม่ได้แจ้งที่อยู่ต่อทางการภายใน 90 วัน (ยกเว้นกรณีที่มีเหตุผลเหมาะสม)
(9) กรณีคนต่างชาติที่ย้ายออกจากที่อยู่เดิม แต่ไม่แจ้งที่อยู่ใหม่ต่อทางการภายใน 90 วัน (ยกเว้นกรณีที่มีเหตุผลเหมาะสม)
(10) คนต่างชาติที่แจ้งที่อยู่ปลอม
ข้อความที่อยู่ท้ายบทบัญญัติ (7) (8) (9)"ยกเว้นกรณีที่มีเหตุผลที่เหมาะสม"
นั้น ผู้ร่างกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม ได้อธิบายไว้ดังต่อไปนี้
(7) กรณีเป็นผู้ที่อยู่ในระหว่างการไกล่เกลี่ยการหย่าร้าง และเรียกร้องสิทธิในการดูแลลูกที่มีสัญชาติญี่ปุ่น
(8) กรณีเป็นผู้ป่วยและต้องเข้าโรงพยาบาลเป็นระยะเวลานานหลังจากเข้าประเทศ และไม่สามารถแจ้งร้องขอได้ด้วยตนเองสามารถให้ตัวแทนไปดำเนินการแทนได้
(9) กรณีเป็นผู้ที่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจ ไม่สามารถหาที่อยู่อาศัยได้
กรณีเหล่านี้ถือว่าไม่ตรงกับ "การยกเลิกวีซ่า" แต่กระทรวงยุติธรรมยังไม่แสดงถึงมาตรฐานการดำเนินงานที่ชัดเจนของกรณีเหล่านี้
สิทธิที่อยู่อาศัยของแรงงานข้ามชาติหญิง
ดังที่กล่าวไว้ในตาราง 2 ช่อง บี) แรงงานข้ามชาติหญิงที่เป็นคู่สมรสของคนญี่ปุ่น / คู่สมรสของผู้ถือวีซ่าถาวร กรณีที่หย่าร้างหรือคู่สมรสเสียชีวิต ต้องรายงานการเปลี่ยนแปลงสถานะต่อกองตรวจคนเข้าเมืองท้องถิ่น ภายใน 14 วัน
บทลงโทษกรณีแจ้งการเปลี่ยนแปลงล่าช้า
หากแจ้งการเปลี่ยนแปลงเกินกว่า 14 วันขึ้นไป จะถูกปรับไม่เกินสองแสนเยน ยิ่งไปกว่านั้น ถึงแม้จะอยู่ในระหว่างระยะเวลาของวีซ่า มีการเพิ่มบทบัญญัติของการยกเลิกวีซ่าคู่สมรส ((7) ที่กล่าวมาในข้างต้น)
ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่กระทรวงยุติธรรมพิจารณาว่า หญิงต่างชาติที่เป็นคู่สมรสของคนญี่ปุ่นที่ไม่ได้ทำกิจกรรมเป็นคู่สมรสเกินกว่า 6 เดือน กระทรวงยุติธรรมสามารถยกเลิกวีซ่าของหญิงคนนั้นและดำเนินการเนรเทศ (แต่ตามกฎหมายฉบับแก้ไข กำหนดว่าก่อนที่กระทรวงยุติธรรมจะยกเลิกวีซ่า ต้องพิจารณาให้โอกาสในการเปลี่ยนเป็นวีซ่าผู้มีถิ่นพำนักถาวร , วีซ่าตลอดชีพ
และกระทรวงยุติธรรมต้องแจ้งให้ที่ว่าการเขตอำเภอทราบว่าได้ยกเลิกวีซ่าของหญิงคนนั้น และให้ยกเลิก ทะเบียนผู้อาศัยคนต่างด้าว ของหญิงคนนั้นด้วย
รูปแบบของ การแต่งงาน ที่เปลี่ยนแปลงไป
ปัจจุบัน รูปแบบของการแต่งงานได้เปลี่ยนแปลงไป ทุกคนคิดว่า เป็นการยากที่จะยืนยันผู้ที่อยู่ในสถานะของคู่สมรสของชาวญี่ปุ่น ไม่ปฏิบัติตามสภาพ แต่กระทรวงยุติธรรมกล่าวว่า การอยู่ร่วมกันหรือไม่ , ในกรณีที่แยกกันอยู่แต่มีการติดต่อกันหรือไม่, บ่อยแค่ไหน , มีการให้ค่าครองชีพหรือไม่, มีการอาศัยอยู่ร่วมกับเพศตรงข้ามคนอื่นหรือไม่, มีการหางานทำหรือไม่ , ประเภทของงาน เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จะนำไปใช้ในการประกอบการพิจารณาในการตัดสิน
Q8
ทะเบียนผู้อาศัยคนต่างด้าว เป็นอย่างไร
ที่ผ่านมาที่ว่าการเขตอำเภอได้ขึ้นทะเบียนผู้อาศัยของคนญี่ปุ่นตามกฎหมายการขึ้นทะเบียนมีถิ่นที่อยู่ และกฎหมายการขึ้นทะเบียนคนต่างชาติ สำหรับคนต่างชาติ เพื่อใช้ในการเรียกเก็บภาษีและการให้บริการของรัฐบาล
ทะเบียนถิ่นที่อยู่
ทะเบียนราษฎรขั้นพื้นฐาน คือ การนำเอาทะเบียนถิ่นที่อยู่ ที่บันทึกชื่อ-สกุล / วันเดือนปีเกิด / เพศ ที่รวมเป็นของแต่ละครัวเรือน เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการให้บริการ ประกันสุขภาพของรัฐ , การดูแลทางการแพทย์ของผู้สูงอายุ, ประกันดูแลพยาบาล , การยืนยันคุณสมบัติของผู้เอาประกันที่มีสิทธิรับเงินบำนาญราษฎรจากรัฐบาล , ยืนยันคุณสมบัติของผู้ที่มีสิทธิรับเงินช่วยเหลือบุตร , จัดทำทะเบียนเด็กวัยเรียน, เงินช่วยเหลือในการดำรงชีพ , การฉีดวัคซีนป้องกันโรค และการลงทะเบียนตราประทับประจำตัวต่างๆ แต่การให้บริการต่างๆเหล่านี้ ยังไม่สามารถใช้ได้กับคนต่างชาติ
ทะเบียนผู้อาศัยคนต่างด้าว
กฎหมายควบคุมคนเข้าเมืองฉบับใหม่นี้ ทำให้คนต่างชาติต้องลงทะเบียนในทะเบียนถิ่นที่อยู่ด้วย นอกจาก「ชาวต่างชาติที่ถือวีซ่าระยะกลางและยาว」, 「ผู้ถือวีซ่าถาวรพิเศษ」แล้ว ยังรวมไปถึงผู้ที่อยู่ระหว่างการขอวีซ่าผู้อพยพ ที่ยังไม่มีบัตรประจำตัวผู้พำนัก ที่ได้รับอนุญาตให้พำนักชั่วคราว และผู้ที่ได้รับการคุ้มครองชั่วคราว
แต่การลงทะเบียนของชาวต่างชาติ จะไม่เหมือนกับชาวญี่ปุ่นทั้งหมด ตามตาราง 4 ทะเบียนผู้อาศัยคนต่างด้าวของชาวต่างชาติที่ถือวีซ่าระยะกลางและระยะยาว จะมีการบันทึกสัญชาติ ,ประเภทของวีซ่า , ระยะการพำนัก และวันหมดอายุ, เลขที่บัตรประจำตัวผู้พำนัก เป็นต้น
กรณีในหนึ่งครัวเรือนที่หลายสัญชาติอาศัยอยู่ร่วมกัน
กฎหมายควบคุมคนเข้าเมืองฉบับใหม่นี้ ในกรณีที่ครอบครัวของผู้ที่แต่งงานระหว่างประเทศ หรือมีหลายสัญชาติใน 1 ครัวเรือน จะถือว่าเป็น 1 ครัวเรือน ตัวอย่างเช่น ครอบครัวของคนญี่ปุ่นและคนต่างชาติ ที่ผ่านมา ชาวญี่ปุ่นจะมีทะเบียนผู้อาศัยของตัวเอง และระบุชื่อคู่สมรสที่เป็นชาวต่างชาติ และข้อมูลต่างๆบันทึกไว้ในช่องหมายเหตุ ต่อแต่นี้ไป จะมีการลงบันทึกรายละเอียดเป็นช่องรายการสำหรับชาวต่างชาติ
บัตรถิ่นที่อยู่ของชาวญี่ปุ่น | บัตรถิ่นที่อยู่ของชาวต่างชาติที่ถือวีซ่าระยะกลางและระยะยาว |
---|---|
ชื่อ-สกุล | |
วันเดือนปีเกิด | |
เพศ | |
(กรณีของเจ้าบ้าน) ผู้เป็นเจ้าบ้าน / (กรณีไม่ใช่เจ้าบ้าน) ชื่อสกุลของเจ้าบ้านและความเกี่ยวข้อง | |
ทะเบียนครอบครัว | ผู้ถือวีซ่าระยะกลาง,ระยะยาว |
- | สัญชาติ |
- | หมายเลขบัตรประจำตัวผู้พำนัก |
- | ประเภทวีซ่า |
- | ระยะเวลาของวีซ่าและวันหมดอายุ |
วันเดือนปีที่มีถิ่นที่อยู่ | วันเดือนปีที่ลงทะเบียนเป็นผู้พำนักอาศัยชาวต่างชาติ |
ที่อยู่ | |
วันเดือนปีที่ย้ายเข้าและที่อยู่เก่า | |
การลงทะเบียนของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | - (การยกเว้น) |
หัวข้อที่เกี่ยวกับ ประกันสุขภาพของรัฐ / การดูแลทางการแพทย์ของผู้สูงอายุ/ การประกันดูแลพยาบาล / เงินช่วยเหลือบุตร / เงินบำนาญราษฎรจากรัฐบาล | |
รายการที่เกี่ยวกับการแจกจ่ายข้าว | |
รหัสของทะเบียนผู้อาศัย | |
หัวข้ออื่น ๆ ที่ระบุไว้โดยคําสั่งคณะรัฐมนตรี |
Q9
การคัดชื่อออกจากทะเบียนผู้อาศัย คืออะไร
ตามกฎหมายควบคุมคนเข้าเมืองฉบับแก้ไข กำหนดไว้ว่า หากที่ว่าการเขตอำเภอมีการบันทึก การคัดออก หรือการแก้ไขในทะเบียนผู้อาศัยคนต่างด้าว ต้องแจ้งต่อกระทรวงยุติธรรมทันที การบันทึก การคัดออก การแก้ไขทะเบียนราษฎรชาวต่างชาติ คือการที่ครอบครัวของชาวต่างชาติได้แจ้งเกิด แจ้งตาย ต่อที่ว่าการเขตอำเภอ และได้มีการจัดทำหรือคัดออกจากทะเบียนผู้อาศัยหรือกรณีที่ชาวต่างชาติหายสาบสูญทางเขตเทศบาลมีสิทธิที่จะคัดชื่อชาวต่างชาติคนนั้นออกจากทะเบียนผู้อาศัย เป็นต้น
การคัดออกโดยอ้างจากหนังสือแจ้งจากกระทรวงยุติธรรม
มาตรานี้ต่อเนื่องกับกฎหมายการลงทะเบียนมีถิ่นที่อยู่ ฉบับแก้ไข กระทรวงยุติธรรมกำหนดไว้ว่า หากมีการเปลี่ยนแปลงหรือข้อผิดพลาดในหัวข้อที่บันทึกไว้ทะเบียนผู้อาศัยคนต่างด้าวที่ทางที่ว่าการเขตอำเภอได้จัดทำขึ้น กระทรวงยุติธรรมจะแจ้งต่อที่ว่าการเขตอำเภอระบบการลงทะเบียนถิ่นที่อยู่นี้ ไม่ได้ใช้เพื่อการให้บริการแก่ประชาชนที่อยู่อาศัย แต่เป็นระบบการจัดการกับคนต่างชาติระบบหนึ่งของบทบัญญัติ
Q10
"การที่ไม่ต้องทำ RE-ENTRY กรณีที่เดินทางกลับเข้าญี่ปุ่นอีกครั้ง"
คืออะไร
ที่ผ่านมา ชาวต่างชาติที่ต้องการกลับประเทศของตนเป็นการชั่วคราว หรือเดินทางไปทำงานต่างประเทศ ต้องไปติดต่อขอรับการอนุญาตเดินทางเข้าญี่ปุ่นอีกครั้ง ที่กองตรวจคนเข้าเมืองท้องถิ่นก่อนเดินทางออกจากญี่ปุ่น ซึ่งต้องเสียค่าธรรมเนียมในการยื่นคำร้อง 3,000 เยน แบบใช้ได้เพียงครั้งเดียว และ 6,000 เยน แบบใช้ได้หลายครั้ง สำหรับการอนุญาตเข้าญี่ปุ่นอีก การแก้ไขครั้งนี้ หากคนต่างชาติต้องการเดินทางออกจากญี่ปุ่น เพียงแค่แจ้งให้เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองทราบว่าจะกลับเข้าญี่ปุ่นภายใน 1 ปี พร้อมแสดงหนังสือเดินทางและบัตรประจำตัวผู้พำนัก นี่คือกฎหมายควบคุมคนเข้าเมืองฉบับใหม่ โดยไม่จำเป็นต้องทำ Re entry กรณีที่เดินทางกลับเข้าญี่ปุ่นอีกครั้ง
อนึ่ง การเดินทางออกไปทำงานต่างประเทศระยะยาว ถ้าออกจากญี่ปุ่นแล้วไม่สามารถกลับเข้ามาได้ภายใน 1 ปี ต้องยื่นติดต่อขอรับการอนุญาตเข้าญี่ปุ่นอีกครั้งเหมือนกับที่ผ่านมา
หากแสดงไว้ว่าถือวีซ่า "เกาหลีเหนือ" หรือ "ไร้สัญชาติ" จะไม่สามารถใช้ระบบนี้ได้
หากคนต่างชาติที่ถือบัตรสถานภาพพำนักที่มีรายละเอียดในช่อง สัญชาติ แสดงไว้ว่า "เกาหลีเหนือ" หรือ "ไร้สัญชาติ" จะไม่สามารถใช้ระบบ "การไม่จำเป็นต้องขออนุญาตกลับเข้าญี่ปุ่นอีกครั้ง" ได้ โดยกระทรวงยุติธรรมได้อธิบายโดยให้เหตุผลว่า "ไม่มีหนังสือเดินทางอย่างเป็นทางการ"